วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติของอินเตอร์เน็ต

ประวัติขงอินเตร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512 เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน
โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร
โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency)







ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก
อาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency) ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก


ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ ที่จะรองรับ ภาระที่
เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน
มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่
่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก




อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศ
ออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"




เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับ
เครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัย
เท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง




ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสาร
แห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัคร
เป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต"
หรือ ISP (Internet Service Provider)



วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การประดิษฐ์ชั้นวางของ


ขั้นตอนการทำงาน



ขั้นตอนที่ 1
เลือกไม้ที่ไสเรียบร้อยแล้วที่มีความหนา 1/2 นิ้ ว กว้าง 6 นิ้ว ใช้ตลับเมตรวัดและขีดเส้นให้ได้ ฉากเลื่อยขนาด 15 x 15 เซนติเมตร ด้วยเลื่อยลัน ดาหรือเลื่อยลอ จำนวน 6 แผ่น

ขั้นตอนที่ 2
ตอกตะปูขนาด ¾ นิ้ว ที่ปลายไม้โดยวัดเ ข้ามาจากปลายไม้ 1 เซนติเมตร 2 ตัวระยะห่างกันป ระมาณ 10 เซนติเมตร จำนวน 3 แผ่นรอไว้

ขั้นตอนที่ 3
ทากาวลาเทกซ์ที่หัวไม้อีกแผ่นและตอกประกบไม้สอง แผ่นเข้าหากันโดยเช็คให้ได้ ฉากตลอด ทำตามขั้นที ่ 1- 3 จนครบ

ขั้นตอนที่ 4
ตอกส่งหัวตะปูให้จมในเนื้อไม้ด้วยเหล็กส่งหัวตะ ปูและอุดด้วยวัสดุที่มีสีเดียวกับไม้และขัดแต่ง ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 2 และเบอร์ 0 ให้เรียบลูบ จนเนียนมือ

ขั้นตอนที่ 5
ทาสีประเภทชแลคสำเร็จรูป ให้ผิวไม้เรียบเนียน โ ดยจะต้องรอแห้ง และขัดเรียบก่อนการทาเที่ยวต่อไ ป ทาชแลคสำเร็จรูป 2 เที่ยว ตามด้วยทาแลคเกอร์ 2 เที่ยว







วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติเฉินหลง

ชื่อจริง 陳港生 (เฉิน ก่างเซิง)
เกิด 7 เมษายน ค.ศ. 1954 (อายุ 56 ปี)
ฮ่องกง
คู่สมรส 林鳳嬌 (หลิน ฟ่งเจียว)
ชื่ออื่น 房仕龍 (ฝาง ซื่อหลง)
元樓 (หยวนโหลว)
อาชีพ นักแสดง, ผู้กำกับ, ผู้อำนวยการสร้าง, ผู้ประสานงานฉากการต่อสู้, นักร้อง
ผลงานเด่น หวง เฟยหง ใน Drunken Master
กูกู๋ ใน Police Story
สารวัตรลี ใน คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด
ชอน เวนย์ in Shanghai Noon

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมายของงานประดิษฐ์

ความหมายงานประดิษฐ์

งานประดิษฐ์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายงานประดิษฐ์
2.มีความรู้ความเข้าใจงานประดิษฐ์
***********
ความหมาย ของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์หมายถึงประดิษฐ์ แปลว่า คิดทำขึ้น
งานประดิษฐ์ จึงหมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อประโยชน์ใช้สอยด้านต่างๆ เช่น เป็นของเล่น ของใช้ หรือเพื่อความสวยงาม
ประโยชน์ของงานประดิษฐ์
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย หากสามารถประดิษฐ์ชิ้นงานตามความต้องการได้
2. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้สร้างงานที่มีคุณภาพ
3. ความเพลิดเพลิน ทำให้จิตใจจดจ่อต่อชิ้นงานที่ทำและมีสมาธิที่ดีต่อการทำงาน สามารถลดความเครียดได้
4. เพิ่มคุณค่าของวัสดุ เช่น เศษวัสดุ วัสดุท้องถิ่นและอื่น ๆ ทำให้มีมูลค่าและประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
5. สร้างความแปลกใหม่จากที่มีอยู่เดิม ทำให้ไม่ซ้ำแบบเดิม มีการปรับปรุงและดัดแปลงให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
6. ชิ้นงานตรงตามความต้องการ เพราะเป็นผู้ผลิตด้วยตนเองและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกวิธีและถูกต้อง
7. เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น ทำให้เห็นคุณค่าทางจิตใจทั้งผู้ให้และผู้รับ
8. อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น มาลัย กระทงใบตอง แกะสลักผักและผลไม้ เครื่องแขวนและอื่นๆ เป็นต้น
9. เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของชีวิตได้มากขึ้น
10. เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ที่ประดิษฐ์ชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพ สวยงาม เป็นที่ ชื่นชอบและสนใจแก่ผู้พบเห็น